ทดสอบลิงค์

ตู้ไฟ รางไฟ
Facebook

สถานะเว็บไซต์
เปิดเว็บไซต์ 08/07/2014
ปรับปรุง 10/05/2023
สถิติผู้เข้าชม 2,206,181
Page Views 2,662,718
สินค้าทั้งหมด 488
 

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 

รู้หรือไม่? เกี่ยวกับหลอดไฟฟ้า

รู้หรือไม่? เกี่ยวกับหลอดไฟฟ้า

 ไม่ควร ใช้ หลอดอินแคนเดสเซนต์ เป็นหลอดหลักในการให้แสงสว่างในสำนักงาน เพราะที่ความส่องสว่างตามมาตรฐานหลอดประเภทนี้จะทำให้รู้สึกจ้า

 หลอดอินแคนเดสเซนต์ อายุการใช้งานสั้น 1,000–3,000 ชม.แต่มีดัชนีความถูกต้องของสี CRI 100 %

 อายุการใช้งานของ หลอดอินแคนเดสเซนต์ จะสั้นลงมากถ้าศักดาไฟฟ้าสูงขึ้น

 หลอดฮาโลเจน เหมาะสำหรับใช้กับงานประเภทส่องเน้นวัตถุ เช่น แกลเลอรี่ ร้านขายจิวเวลลี่ เซรามิค แก้ว เป็นต้น

 หลอดฮาโลเจน เป็นหลอดประเภทที่ไม่มีมุมองศา

 หลอดฮาโลเจน สามารถใช้งานร่วมกับสวิทช์หรี่ไฟได้

 ห้าม !!! ใช้มือเปล่าไปสัมผัสถูก หลอดฮาโลเจน เพราะจะทำให้กระเปาะแก้วเกิดคราบสีดำ (คราบไขมันจากมือคน)ปิดกั้นแสง และส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลงมาก

 ตัวสะท้อนแสงของ หลอดฮาโลเจน เคลือบด้วยสารไดคลออิค ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้สารไดคลออิคเสียหาย จึง ควรหลีกเลี่ยง การสัมผัสที่จานสะท้อนแสง

 หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ มีด้วยกัน 3 รุ่นคือ

        - รุ่นที่มีบัลลาสต์อิเล็คทรอนิคส์ในตัว (Self ballast)

        - รุ่นที่ใช้บัลลาสต์แกนเหล็ก เช่น Dulux S (single ทรงตะเกียบเดี่ยว),

          D (double ทรงตะเกียบคู่),T (triple ทรงตะเกียบสามยู), L (long ทรงยาว)

        - รุ่นที่ใช้บัลลาสต์อิเล็คทรอนิคส์เช่น Dulux S/E,D/E, L/E เป็นต้น

 ถึงแม้ว่าหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ รุ่นที่มีขั้วและวัตต์แบบเกียวกัน แต่ก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้ ถ้าบัลลาตต์คนละรุ่น

 หลอดฟลูออเรสเซนต์ ใช้กับสำนักงานและโรงงาน ที่มีเพดานสูงไม่เกิน 7 เมตร

 หลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อใช้ในห้องแช่เย็น จะสตาร์ทยากและปริมาณแสงน้อยลงมาก

 หลอดฟลูออเรสเซนต์เดไลท์ (Daylight) เหมาะใช้กับความส่องสว่าง 700 ลักซ์ หรือมากกว่า

 หลอดคูลไวท์ (Cool White) เหมาะใช้กับสำนักงานที่มีความส่องสว่าง 500 – 1,000 ลักซ์

หลอดวอร์มไวท์ (Warm White) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความส่องสว่างไม่มากแต่ดูอบอุ่น

 หลอดโซเดียมความดันต่ำ มีประสิทธิผลมากที่สุดแต่ความถูกต้องสีน้อยที่สุด

 หลอดโซเดียมความดันต่ำ มีสีเหลืองจัด หรือสีส้มเหมาะสำหรับใช้งานในสถานที่ที่ต้องการแสงสว่างชัดเจนเช่น ไฟถนนที่มีขนาดใหญ่ ไฟในอุโมงค์ ใช้เป็นไฟส่องบริเวณเพื่อการรักษาความปลอดภัย

 หลอดโซเดียมความดันต่ำ ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเปิดหลอดและสว่างทันที

 หลอดปรอทความดันสูง ใช้แทน หลอดฟลูออเรสเซนต์เมื่อต้องการวัตต์สูง ๆ ใช้ในพื้นที่ที่มีเพดานสูง ๆ ใช้ในการส่องบริเวณ ใช้กับไฟถนน ไฟทางด่วน ในโรงงานที่ไม่พิถีพิถันเรื่องสีสันมากนัก ร้านค้า ตลาดสด เป็นต้น

 หลอดโซเดียมความดันสูง มีประสิทธิผลรองจากโซเดียมความดันต่ำ แต่ CRI ดีกว่า

 หลอดเมทัลฮาไลด์ ให้แสงทุกสีเด่น จึงนิยมใช้กับสนามกีฬาที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ หรือในห้างสรรพสินค้า

 ถึงแม้ว่า หลอด LED จะมีราคาสูงกว่าหลอดประเภทอื่นแต่สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ เพราะให้แสงดีกว่า ประหยัดไฟกว่า และที่สำคัญไม่ต้องกังวลในการเปลี่ยนหลอดบ่อย ๆ เนื่องจากมีอายุการใช้งานยาวนาน

 ถ้าต้องการ มองเห็นสีสันที่แท้จริงของวัตถุ ควรใช้หลอดที่มีดัชนีความถูกต้องของสี CRI สูง ๆ เช่น หลอดฮาโลเจน

 ถ้าต้องการ มองเห็นวัตถุให้เด่น ให้เลือกหลอดที่ให้สเปกตรัมสีเดียวกับวัตถุมาก ๆ เช่น หลอดเมทัลฮาไลด์ไม่ใช่เลือกหลอดที่มีดัชนีความถูกต้องของสี CRI (ColorRendering Index) สูง ๆ

ตะกร้าสินค้า
จำนวนสินค้า 0 รายการ
ราคา0 ฿
 

หมวดหมู่สินค้า

สินค้ามาใหม่
 

Copyrght 2005-2014. Terakit Electric Solution Co.,Ltd. All rights reserved. Tel. 02-802-9600 | webmaster : showroom@tescontrol.com

 
  
view